ราเมน Ramen เส้นบะหมี่แนวความอร่อยหลายชาติอยากให้ไปลองหาชิมดู

Shoyu-Ramen-history

ราเมน” เป็นบะหมี่ญี่ปุ่นที่ดัดแปลงมาจาก “บะหมี่ขาว” ของประเทศจีน ราเมนรู้จักอย่างเป็นทางการในญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ.1660 นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าอีกเรื่องว่าราเมนได้ถูกนำเข้ามาจากผู้อพยพชาวจีนในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 หรือต้นศตวรรษที่ 20 แต่ประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการ ตามบันทึกของพิพิธภัณฑ์ราเม็งโยโกฮาม่า ราเมนนั้นมีต้นกำเนิดในประเทศจีนและเดินทางมาถึงญี่ปุ่นในปี ค.ศ.1859

คนไทยถือว่าได้รับอิทธิพลจากอาหารญี่ปุ่นไม่น้อย เพราะโดดเด่นในเรื่องความแปลกในด้านรสชาติที่ไม่เหมือนใคร โดยเฉพาะราเมน ถือเป็นอาหารที่คนไทยชื่นชอบไม่แพ้คนญี่ปุ่น ซึ่งสามารถหากินได้ตามห้าง อย่างร้าน “ฮาจิบัง” เป็นต้น ราเมนมีหลายสูตรไม่ต่างอะไรจากก๋วยเตี๋ยวบ้านเรา ทีอย่างในบ้านเราจะมี เย็นตาโฟ น้ำตก แห้ง ต้มยำ เป็นต้น ส่วนราเมนก็มีหลากชนิด เช่น ยุราเมน ทงคตสึราเมน สึเคเม็งราเมน และมิโสะราเมน แต่ละอย่างแตกต่างกันอย่างไร เดียวเราจะพาไปทำความรู้จักกับพวกมันกัน

โชยุราเมน (Shoyu Ramen)

เป็นราเม็งสูตรน้ำซุปโชยุ Shoyu Ramen น้ำซุปมีความเข้มข้นจนสีน้ำตาลเล็กน้อย จากสีปรุงรสด้วยซอสถั่วเหลือง ปกติแล้วน้ำซุปจะทำจากโครงไก่ แต่อาจมีเนื้อหมูหรือเนื้อสัตว์อื่นๆ ปนปนกันด้วย หากคุณเข้าไปร้านอาหารญี่ปุ่น แล้วในเมนูไม่ได้ระบุว่าเป็นราเม็งชนิดได้ รับประกันได้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นโชยุราเมนนี่เอง เพราะเป็นประเภทที่นิยมและรับประทานกันบ่อยมากที่สุด

สึเกเม็ง

เป็นราเม็งที่มีวิธีกินแปลกไปอีก เพราะว่าน้ำซุปกับเส้นราเม็งจะแยกกันอยู่คนละชาม เวลากันจะต้องคีบเส้นไปจุ่มในถ้วยน้ำซุปที่อยู่ด้านข้าง จะว่าลำบากก็ใช่ แต่จะบอกว่ามันอร่อยจริงๆนะ สึเกเม็งมักโรยหน้าด้วยสาหร่ายแผ่นใหญ่ และไข่ไก่ พร้อมน้ำซุปที่ผ่านการเคี่ยวจนเข้มข้น

ทงคตสึกราเม็ง

ราเม็งสูตรเข้มข้นจากน้ำต้มกระดูกที่ผ่านการเคี่ยวอย่างยาวนานจนออกมาเป็นสีขาว เป็นที่นิยมในญี่ปุ่นและไทย บางครั้งอาจมองมันเหมือนเป็นต้มข่าเลยก็ว่าได้

ชิโอะราเม็ง

เป็นราเม็งสูตรเกลือ จึงไม่แปลกที่จะน้ำซุปจะออกใสแจ๋วราวกับน้ำเปล่า แต่รสชาติกลับเข้มข้น ไม่เลี่ยนเหมือนน้ำซุปสูตรอื่นๆ ที่เน้นหนักเป็นพวกโชยุ และถือว่าเป็นราเม็งที่สร้างชื่อเสียงให้กับเกาะฮอกไกโดเป็นอย่างมาก

มิโซะราเม็ง

ด้วยความเข้มข้นของมิโซะ ผสมเข้ากับเต้าเจี้ยวที่หอมของญี่ปุ่น ทำให้เราได้น้ำซุปราเม็งที่หอมน่ารับประทาน ด้วยการเคี่ยวกระดูกไก่ และกระดูกสัตว์อื่นๆ รวมถึงปลาโอตากแห้งทำให้ มิโซะราเม็งเป็นขวัญใจของนักกินตัวยงอย่างปฎิเสธไม่ได้

หมี่เย็น ทำเองก็ได้ง่ายๆ อร่อยไม่แพ้ร้าน

วิธีทำบะหมี่เย็นที่สุดของความอร่อยที่สามารถทำเองได้
หมี่เย็น ทำเองได้ง่ายๆ อร่อยถูกปาก ไม่แพ้ร้านอาหาร

“หมี่เย็น” เป็นเมนูอาหารญี่ปุ่นที่มีวิธีกินน่าสนใจ สามารถหากินได้ตามร้านอาหารญี่ปุ่น เวลาเสิร์ฟจะมาพร้อมกับน้ำซุปสีดำ ที่เรียกว่า “สึยุ” และเส้นบะหมี่เย็นที่จัดไว้อยู่บนจานโรยหน้าด้วยสาหร่าย พร้อมกับเครื่องเคียงอย่าง วาซาบิ และต้นหอมซอย เชื่อว่าเป็นเมนูที่ชื่นชอบสำหรับหลายคน แต่เนื่องด้วยราคาที่แพงขึ้นของเมนูนี้ตามร้านอาหาร ทำให้หลายคนรู้สึกไม่คุ้มค่าเงินเลย แต่วันนี้เราจะมาสอนวิธีทำบะหมี่เย็นกินกันเองที่บ้านง่ายๆ ที่มีรสชาติอร่อยไม่แพ้ในร้านอาหารญี่ปุ่นกันเลยเชียว

การเตรียมเครื่องปรุงและส่วนผสม

1.น้ำเปล่า

2.น้ำตาล

3.น้ำส้มสายชู

4.เส้นโซบะ

5.น้ำซอสบะหมี่เย็น (Soba Tsuyu) ตรา Kikkoman

6.น้ำซอสถั่วเหลือง (Special Fragrance Soy Sauce) ตรา Kikkoman

7.สาหร่าย

ขั้นตอนการทำน้ำซอส

สาเหตุที่เลือกใช้ซอสของ Kikkoman เพราะเป็นน้ำซอสที่นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเหมาะสำหรับการนำมาใช้ทำอาหารญี่ปุ่นโดยเฉพาะ โดยที่เราใช้ในวันนี้เป็นซอสสำหรับทำบะหมี่เย็น ซึ่งมีส่วนผสมของมิริน 13% เราเลยไม่ต้องหามิรินมาใส่เพิ่มอีก ปัจจัยสำคัญอีกอย่างคือมันมีราคาไม่แพงมาก สามารถใช้ทำได้หลายครั้ง ส่วนของซอสถั่วเหลืองของ Kikkoman ที่เลือกใช้เพราะมันไม่ได้เค็มแบบซอสของบ้านเรา เหมาะสำหรับการทำซอสสำหรับจิ้มบะหมี่เย็นอย่างมาก และยังนำไปใช้ทำเมนูอื่นๆ อีกเพียบ ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะอาหารญี่ปุ่นเท่านั้น ดังนั้นซื้อเก็บไว้ติดบ้านก็คุ้มอยู่

ส่วนของน้ำส้มสายชูสามารถใช้ของทั่วไปในบ้านเราได้ ใช้เป็นตัวสร้างรสเปรี้ยวให้กับน้ำซอสของเรา ซึ่งเราก็จะไม่ได้ใส่เยอะ บางคนเลือกที่จะใส่น้ำส้มสายชูแบบไซเดอร์ ก็เป็นตัวเลือกตามความชอบของแต่ละคน ในการทำน้ำซอสเราจะเริ่มผสมในหม้อหรือชามโดยไม่ต้องใช้ไฟ เพราะสามารถนำไปแช่ตู้เย็นได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้หายร้อน เมื่อเทียบกับการนำไปผสมหม้อต้ม ส่วนอัตราผสม ได้แก่ น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง, น้ำส้ม ½ ถ้วยตวง, น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ, ซอสโซบะ 1 ½ ถ้วยตวง, ซอสถั่วเหลือง 1/2 ถ้วยตวง

การเตรียมเส้นหมี่เย็น

บะหมี่เย็นที่นำมาใช้สามารถเลือกซื้อได้ตามใจชอบ มีราคาตั้งแต่ 50 บาท ถึง 100 บาท 1 ถุงสามารถทำบะหมี่เย็นได้ประมาณ 3 – 4 ที่ ในการเตรียมให้ต้มน้ำตามด้วยใส่เกลือเล็กน้อย รอจน้ำเดือดแล้วนำเส้นลงไปต้มเป็นเวลา 10 นาที เพื่อให้เส้นนุ่มอร่อย พอเส้นนิ่มจนพอใจแล้วให้รีบนำไปแช่น้ำเย็นทันที วิธีนี้ทำให้เส้นเซ็ตตัว ไม่นิ่มจนเละ และไม่แข็งจนเกินไป หลังจากนั้นก็นำเนื้อสัตว์มาใส่ตามใจชอบ ตกแต่งด้วยหอมซอย และสาหร่ายโรยบนหมี่เย็น

ราเม็ง ญี่ปุ่น สุดยอดราชาแห่งเส้น ความอร่อยเหนือระดับ

Ramen Japan

หากบอกว่าในยุคนี้อาหารญี่ปุ่นประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงมากทั้งจากคนญี่ปุ่นเองและคนอื่นทั่วโลกนั่นคือ ราเม็ง ถือว่าเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยเปรียบได้กับก๋วยเตี๋ยวน้ำบ้านเราแต่ด้วยคุณลักษณะของเส้นที่แตกต่าง รสชาติน้ำซุป และกรรมวิธีต่างๆ มันทำให้อาหารประเภทนี้ของชาวญี่ปุ่นอร่อยมากๆ เลยทีเดียว จะว่าไปหากใครได้มีโอกาสลองไปทานที่ญี่ปุ่นแท้ๆ สัมผัสกับรสชาติจริงจะยิ่งทำให้รู้สึกรักเมนูนี้มากขึ้นอีกเป็นกองเลยทีเดียว

รีวิวราเม็งสไตล์ญี่ปุ่น

ราเม็งเป็นบะหมี่น้ำของชาวญี่ปุ่นที่จริงๆ แล้วมีจุดเริ่มต้นมาจาประเทศจีน ตามประวัติศาสตร์ได้มีการบันทึกเอาไว้ว่า โทกูงาวะ มิตสึกูนิ ซึ่งเป็นขุนนางใหญ่ได้ทานราเม็งในช่วงศตวรรษที่ 17 เป็นยุคเมจิ เชื่อกันว่าที่มาอันแท้จริงของราเม็งนั้นมาจากประเทศจีนแม้ไม่ได้มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ระบุไว้อย่างชัดเจน กระนั้นได้มีสมมุติฐานหนึ่งบอกเอาไว้ คำว่า ราเม็ง ในภาษาญี่ปุ่น เป็นคำที่เพี้ยนมาจากภาษาจีนว่า ลาเมียน คำๆ นี้มีความหมายว่า เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ใช้มือนวด ในสมัยยุคเมจิที่กล่าวถึงนี้ตอนนั้นยังไม่ได้ใช้ศัพท์ว่า ราเม็ง โดยตรงแต่พวกเขาเรียกอาหารชนิดนี้ว่า ชินาโซบะ มีความหมายคือ โซบะจีน กระทั่งช่วงเวลาต่อมาชาวจีนเริ่มมีการขายอาหารประเภทนี้ตามรถเข็นพร้อมๆ กับการขายเกี๊ยวซ่าไปด้วย มีการเป่าชารูเมระเอาไว้เรียกลูกค้า พอมาถึงตอนนี้เลือกใช้การอัดเสียงแทน

ปกติแล้วอาหารประเภทนี้จะเป็นเส้นที่เสิร์ฟมาในน้ำซุปรสชาติเฉพาะตัวโดยในชามก็ยังมีเครื่องเคียงอื่นอีก เช่น เนื้อหมู, คามาโบโกะ, สาหร่าย, ต้นหอม หรือขึ้นอยู่กับบางสูตรว่าจะใส่อะไรเพิ่มเติมเข้ามาอีกหรือไม่ เช่น ข้าวโพด, ขิงดอง เป็นต้น อย่างที่บอกไปว่ารสชาติของราเม็งมีความแตกต่างกันตามพื้นที่ของประเทศญี่ปุ่น เช่น บนเกาะคิวชูที่นี่คือต้นกำเนิดสไตล์ทงคัตสึ หรือที่เข้าใจง่ายๆ ว่า ซุปกระดูกหมู หรือถ้าเป็นบนเกาะฮอกไกโดที่นี่จะเป็นต้นกำเนิดของสูตรมิโซะหรือสูตรเต้าเจี้ยว

ตัวอย่างของราเม็งยอดนิยมที่ไม่ใช่แค่ในญี่ปุ่นเท่านั้นแต่ทั่วโลกยังต้องรู้จักอาหารชนิดนี้อย่างดี เช่น แบบโชยุหรือซีอิ๊ว, ชิโอะหรือซุปเกลือ, บันชู, ทากายามะ, โอโนมิจิ, ชาชู, โตเกียว, อาซาฮิกาวะ, ฮาโกดาเตะ, คิตากาตะ, ซัมมะ, โอโนมิจิ ฯลฯ

ถือว่าอาหารประเภทนี้เป็นอาหารสุดอร่อยยิ่งทานในช่วงอากาศหนาวเย็นแล้วจะยิ่งช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายได้อีกมาก